วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

                                                บิดาแห่งการพิมพ์ (ค.ศ. 1398-1468)
                                       อัจฉริยะผู้สร้างเครื่องพิมพ์
                                      สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกนานัปการ




ถึงกระนั้น เหตุที่กูเตนเบิร์กได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งการพิมพ์ก็เนื่องมาจากเขาเกิดในดินแดนยุโรปที่มีตัวอักษรแค่ 26ตัว และปัญญาชนของโลกใช้วิทยาการนี้เผยแพร่ความคิด เขาจึงได้ชื่อว่าผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ เพราะวิทยาการของเขาส่งผลต่อวิทยาการแขนงต่างๆของโลกสืบมา
โยฮันเนส เจนส์ไฟลช์ ลาเดน ซูม กูเตนเบิร์ก (Johannes Gensfleisch zur Laden Zum Gutenberg) เกิดราวปี ค.ศ. 1398 ที่เมืองไมนซ์(Mainz) ประเทศเยอรมนี บิดาเป็นขุนนางขั้นสูงชั้นสูง ชื่อ ไฟร์ล เจนส์ไฟร์ล ซูร์ ลาเดน (FFriele Gensfleisch Zur Laden) ส่วนมารดาชื่อ เอลซ์ ไวริช (Else Wyrich)
ในวัยเด็ก กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา
ราว ค.ศ. 1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต (The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิต
หลังจากนั้น ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของกูเตนเบิร์กอีกเลย กระทั่งพบจดหมายของเขา เมื่อเดือนมีคม ค.ศ. 1434 ว่าเขาพักแรมอยู่ที่สตาสบูร์ก (Strasbourg) ทำงานเป็นลูกจ้าในร้านตัดกระจก เขาประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และอักษรโลหะ 26 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)
ค.ศ. 1455 เครื่องพิมพ์กูเตนเบิร์กพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาราว 800 เล่ม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ’ไบเบิ้ลของกูเตนเบิร์ก’ (The Gutenburg Bible) จากผลงานครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากสังฆราชเมืองไมนซ์ให้เป็นมหาดเล็ก และได้รับเงินบำนาญอีกด้วย
ต่อมาปี ค.ศ. 1475 วิลเลียม แคกซ์ตัน (William Caxton) ช่างพิมพ์ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาเครื่องพิมพ์เพื่อตีพิมพ์หนังสือ Recuyell of the Histoyes of Troye นับเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกของโลก


วิทยาการด้านการพิมพ์ได้แพร่หลายสู่ประเทศต่างๆอย่างรวดเร็ว ที่เมืองเวนิช(Venice) ประเทศอิตาลี อัลดุลมานูติอุส (Aldus Manutius) ช่างพิมพ์สามรถประดิษอักษรตัวเอน รวมถึงรูปแบบตัวอักษรที่เรียบง่ายเป็นจำนวนมาก
แม้กูเตนเบิร์กจะไม่ใช่คนแรกที่คิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ แต่สิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ก็คือ เขามีส่วนสำคัญนการทำให้วิทยาการต่างๆของโลกได้รับการเผยแพร่ กูเตนเบิร์กถึงแก่กรรมที่บ้านเกิด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1468 ศพของเขาถูกนำไปฝังที่โบสถ์นิกายฟรังซิส (Franziskanerkiche) ซึ่งต่อมาโบสถ์แห่งนี้กับสุสานถูกทำลาย ทำให้หลุมศพของกูเตเบิร์กหายสาบสูญไปด้วย





























2 ความคิดเห็น:

  1. 1. บทความแรกไปไหนคะ ไม่เห็นมีเลยนะ
    2. บทความนี้เอามาจากเว็บหมดเลย ตรงไหนที่เป็นความคิดของนักศึกษาบ้างคะ ถ้าลอกมาจากเว็บต่างๆ แล้วเอามาแปะๆ ส่งอย่างนี้ เราคงไม่ต้องเรียนต้องสอนกันแล้ว เพราะคุณไม่ยอมใช้ความคิดของตัวเองเลย น่าผิดหวังมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. Casino Slot Games - CasinoRatos
    This 먹튀 사이트 먹튀 랭크 is where the casino games can end. 바카라마틴 To 바카라사이트 win and win you have to place 라이브 벳 a bet on the slots that you have selected, then use the bonus code: MY100. 가입머니 지급 사이트 In

    ตอบลบ